สวัสดีค่ะ รบกวนปรึกษาผู้รู้ ดิฉันจดทะเบียนสมรสกับนาย A เมื่อปี 2536 และเมื่อปี 2537 ได้ไปลงชื่อขอกู้เงินจากธนาคารเพื่อมาสร้างบ้านโดยมีโฉนดที่ดิน(ที่ใช้สร้างบ้านเป็นหลักประกัน ชื่อโฉนดเป็นของสามี) สามีเป็นผู้กู้หลัก ดิฉันเป็นผู้กู้ร่วม โดยยอดเงินกู้อยู่ที่ 1,500,000 บาท (เท่ากับมูลค่าโฉนดที่ใช้จดจำนอง)หลังจากนั้น ปี 2544 ดิฉันได้จดทะเบียนหย่ากับสามี มีการตกลงโดยวาจาว่าให้ผู้กู้หลักเป็นผู้รับผิดชอบชำระหนี้ตามสัญญาแต่ผู้เดียว เมื่อเวลาผ่านไป ยอดเงินกู้เหลือ 390,000 บาท ดิฉันได้รับหมายศาลว่า ดิฉันและผู้กู้หลักได้ผิดนัดชำระหนี้เกิน 3 เดือน เมื่อสอบถามไปยังผู้กู้หลัก(ซึ่งยังอาศัยอยู่ในพื้นที่หลักทรัพย์ที่ใช้จดจำนอง) เค้าแจ้งว่าเค้าได้ชำระในส่วนของเขาแล้ว ที่เหลือเป็นส่วนที่ดิฉันต้องรับผิดชอบ ซึ่งตั้งแต่จดทะเบียนหย่าไป ดิฉันก็มิได้ใช้ผลประโยชน์จากทรัพย์สินที่ใช้จดจำนองอีกเลย ขอเรียนถามผู้รู้ว่า 1.ดิฉันจะไปแจ้งทางธนาคารให้ถอนชื่อออกจากเป็นผู้กู้ร่วมได้หรือไม่ 2.ถ้าผู้กู้หลักไม่ยินยอมให้ดิฉันถอนชื่อออก เป็นไปได้มั๊ยที่จะสามารถปล่อยให้ธนาคารยึดทรัพย์สินไปเลย (มูลค่าหนี้ ณ วันที่ได้หมายศาลเท่ากับ 490,000 บาท / มูลค่าทรัพย์สินที่ใช้จดจำนอง ประมาณ 2,500,000 บาท) 3.หลังจากที่ไปศาลตามนัด ถ้าไกล่เกลี่ยไม่ได้ ดิฉันควรดำเนินการอย่างไรต่อไป 4.ปัจจุบันดิฉันมีทรัพย์สินที่เป็นโฉนดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง,เงินในบัญชีธนาคาร ถ้าเกิดการยึดทรัพย์ จะส่งผลกระทบมาถึงทรัพย์สินเหล่านี้หรือไม่ 5.ทางผู้กู้หลัก ผลักภาระหนี้ที่เหลือมาให้ดิฉันทั้งหมด แต่ในทางกฏหมายยังถือว่าเป็นการรับผิดชอบร่วมกันหรือไม่ และถ้ามีการตามยึดทรัพย์ในกรณีที่มูลค่าหนี้มีมากว่าทรัพย์สินที่จดจำนอง ตามกฏหมายจะยึดทรัพย์จากผู้กู้ทั้งสอง คนละครึ่งหรือไม่ ขอพระคุณทุกคำตอบที่เป็นประโยชน์มาล่วงหน้าค่ะ
0 ความเห็น
แสดงความเห็น