จัดการมรดก และขั้นตอนการแบ่งทรัพย์มรดก ทนายธีรเมศร์ (ทนายเบล)
17
มีนาคม
โดย: Tanaysocial 0 ความเห็น

จัดการมรดก และขั้นตอนการแบ่งทรัพย์มรดก ทนายธีรเมศร์ (ทนายเบล)

      ทนายโซเชียล   

ทนายธีรเมศร์ โอฬารจิระภัสร์ (ทนายเบลล์)

ปรึกษากฎหมายเพิ่มเติม 02-194-4707 , 095-169-9998 , 081-749-5456

หรือกด เพิ่มเพื่อน

เพื่อปรึกษากฎหมายฟรี

เพิ่มเพื่อน

 

         

ในกรณีที่ญาติพี่น้อง บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย ได้มีทรัพย์สินระหว่างมีชีวิต จำพวก บ้าน รถยนต์ ที่ดิน เงินฝากในบัญชีธนาคาร ธุรกิจครอบครัว หุ้นบริษัท หรือทรัพย์สินอื่นๆ อีกมากมาย ไว้ ภายหลังเมื่อเสียชีวิตลงทรัพย์สินที่ว่ามา ย่อมตกเป็นมรดกต้องแบ่งให้กับทายาทตามกฎหมาย ทันที

 

 

 เมื่อมีคนเสียชีวิต และมีมรดก ที่จะต้องแบ่งให้กับทายาท กฎหมายกำหนดให้ต้องมีผู้จัดการมรดก เพื่อดำเนินการจัดสรรทรัพย์สินแบ่งให้กับทายาทตามกฎหมายเสียก่อน

 

 

 #สิ่งที่ท่านควรรู้ คือ

คำถามที่ 1. จะขอเป็นผู้จัดการมรดก ได้เมื่อไหร่ ?

คำตอบ เราจะขอจัดการมรดกได้ เมื่อเจ้ามรดกตาย เจ้ามรดกมีทรัพย์มรดก และมีเหตุขัดข้องที่จะต้องจัดการมรดก โดยเหตุขัดข้องที่จะต้องการมรดก เช่น เจ้ามรดกมี ที่ดิน 1 แปลง ทายาทไปสำนักงานที่ดิน เพื่อจะโอนที่ดินของผู้ตายให้เป็นของตนเอง แต่เจ้าพนักงานที่ดินไม่ยอมจดทะเบียนให้ อ้างว่าต้องไปขอให้ศาลตั้งเป็นผู้จัดการมรดกก่อน อย่างนี้ถือว่ามีเหตุขัดข้องแล้ว

 

คำถามที่ 2. บุคคลที่จะเป็นผู้มีสิทธิร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดก  ?

คำตอบ: ทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดกที่มีสิทธิรับมรดก เช่น บุตร บิดามารดา คู่สมรสของเจ้ามรดก ผู้รับพินัยกรรมของเจ้ามรดก หรืออาจเป็นบุคคลภายนอก ผู้มีส่วนได้เสียก็ได้ เช่น เจ้าของร่วมในทรัพย์สินของเจ้ามรดก กรณีเช่นนี้ที่มีมากคือ กรณีที่สามีภริยาไม่จดทะเบียนสมรสและมีทรัพย์สินร่วมกันนั่นเอง และประการสำคัญผู้ที่จะเป็นผู้จัดการมรดก ต้องบรรลุนิติภาวะแล้ว และไม่เป็นบุคคลวิกลจริต หรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ และไม่เป็นบุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นบุคคลล้มละลาย เพราะกฎหมายเห็นว่าคนประเภทนี้ไม่สามารถรู้ผิดชอบ หย่อนความคิดอ่าน มีหนี้สินล้นพ้นตัว ขืนไปจัดการทรัพย์สินคนอื่น ก็มีแต่จะเสียหายยิ่งขึ้นไปเท่านั้น

 

คำถามที่ 3. การยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ยื่นที่ไหน ?

คำตอบ:  ต้องยื่นที่ศาล โดยทั่วไปเจ้ามรดกมีภูมิลำเนาที่ไหนยื่นคำร้องเป็นผู้จัดการมรดกที่แห่งนั้น เช่น เจ้ามรดกมีภูมิลำเนาขณะถึงแก่ความตายที่จังหวัดขอนแก่น ก็ยื่นที่ศาลที่เป็นภูมิลำเนาของผู้ตาย ได้แก่ศาลจังหวัดขอนแก่น นั่นเอง

 

คำถามที่ 4. คำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกต้องทำอย่างไร ?

คำตอบ:  การทำคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ต้องเป็นเรื่องที่ผู้มีความรู้ในทางกฎหมายและทางปฏิบัติเท่านั้นจะเข้าใจและทำได้ถูกต้องให้ครบองค์ประกอบของกฎหมาย เราประชาชนหรือมีอาชีพอื่น ย่อมไม่เข้าใจ ก็ต้องปรึกษานักกฎหมายหรือทนายความ เพราะคำร้องจะมีแบบคำร้อง แล้วนำมาบรรยายในคำร้องระบุรายละเอียดต่างๆ เช่น ชื่อ ตำบล ที่อยู่ผู้ร้อง เป็นทายาทผู้ตายๆ ผู้ตายเมื่อไหร่ มีหลักฐานการตาย ผู้ตายมีทายาทกี่คนใครบ้าง มีทรัพย์สินอะไรบ้าง มีเหตุขัดข้องอย่างไร และท้ายสุดก็ขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดก

 

คำถามที่ 5. หน้าที่ของผู้จัดการมรดก ?

คำตอบ:  หน้าที่ของผู้จัดการมรดก เป็นตัวแทนของทายาททั้งหมด มีหน้าที่ในการรวบรวมทรัพย์มรดก แบ่งให้กับทายาท ทั้งมีอำนาจใหนการดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและอาญา ต่อผู้ที่กระทำความเสียหายแก่กองมรดกด้วย

   

 

หมายเหตุ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ฯ

มาตรา 1713 ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการจะร้อง ต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกก็ได้ ในกรณีดั่งต่อไปนี้

(1) เมื่อเจ้ามรดกตาย ทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมได้สูญหาย ไป หรืออยู่นอกราชอาณาเขต หรือเป็นผู้เยาว์

(2) เมื่อผู้จัดการมรดกหรือทายาทไม่สามารถ หรือไม่เต็มใจที่จะจัด การ หรือมีเหตุขัดข้องในการจัดการ หรือในการแบ่งปันมรดก

(3) เมื่อข้อกำหนดพินัยกรรมซึ่งตั้งผู้จัดการมรดกไว้ไม่มีผลบังคับได้ด้วย ประการใด ๆ

การตั้งผู้จัดการมรดกนั้น ถ้ามีข้อกำหนดพินัยกรรม ก็ให้ศาลตั้งตาม ข้อกำหนดพินัยกรรม และถ้าไม่ข้อกำหนดพินัยกรรม ก็ให้ศาลตั้งเพื่อ ประโยชน์แก่กองมรดกตามพฤติการณ์ และโดยคำนึงถึงเจตนาของ เจ้ามรดกแล้วแต่ศาลจะเห็นสมควร

มาตรา 1718 บุคคลต่อไปนี้จะเป็นผู้จัดการมรดกไม่ได้

(1) ผู้ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ

(2) บุคคลวิกลจริต หรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความ สามารถ

(3) บุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนล้มละลาย

มาตรา 1719 ผู้จัดการมรดกมีสิทธิและหน้าที่ที่จะทำการอันจำเป็น เพื่อให้การเป็นไปตามคำสั่งแจ้งชัดหรือโดยปริยายแห่งพินัยกรรม และเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไป หรือเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดก

มาตรา 1720 ผู้จัดการมรดกต้องรับผิดต่อทายาทตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 809 ถึง มาตรา 812 มาตรา 819 มาตรา 823 แห่งประมวลกฎหมายนี้โดยอนุโลม และเมื่อเกี่ยวกับบุคคลภายนอก ให้ใช้ มาตรา 831 บังคับโดยอนุโลม

 

 

 

 

โดยทนายธีรเมศร์ โอฬารจิระภัสร์ (ทนายเบลล์)

ปรึกษากฎหมายเพิ่มเติม 02-194-4707 , 095-169-9998

หรือส่งข้อความมาสอบถามได้ที่ไลน์

 

Line: QRcode

 

ตามตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ เฟซบุ๊คแฟนเพจ https://www.facebook.com/tanaysocial/

ภาพประกอบ จาก https://www.posttoday.com/

จัดการมรดก และขั้นตอนการแบ่งทรัพย์มรดก ทนายธีรเมศร์ (ทนายเบล)

0 ความเห็น

แสดงความเห็น