ยื่นขอเป็นผู้จัดการมรดก คนไทย หรือ ชาวต่างชาติ ทำอย่างไร #ใครมีสิทธิรับมรดกบ้าง
02
สิงหาคม
โดย: Tanaysocial 0 ความเห็น

ยื่นขอเป็นผู้จัดการมรดก คนไทย หรือ ชาวต่างชาติ ทำอย่างไร #ใครมีสิทธิรับมรดกบ้าง

หากมีเรื่องทุกข์ร้อนใจ ทุกปัญหามีทางออก

ปรึกษากฎหมาย

โทร 02-194-4707 , 095-169-9998

ทนายธีรเมศร์/ทนายเบล    

หรือสามารถส่งข้อความที่ต้องการสอบถาม มายังไลน์ (Line) เพียงกดเพิ่มเพื่อน ด้านล่างนี้ได้เลย

เพิ่มเพื่อน

 

 

#ใครมีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตาย พร้อมวิธีการจัดตั้งผู้จัดการมรดกชาวไทยและชาวต่างชาติ

 

    เมื่อบุคคลถึงแก่ความตาย หากผู้ตายมีทรัพย์สินอยู่ในประเทศไทย ผู้ตายจะถูกเรียกว่า เจ้ามรดก” ซึ่งทรัพย์สินของเจ้ามรดกนี้นั้น ทายาทของเจ้ามรดกยังไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดก ในทางปฏิบัติแล้วนั้น  เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ทายาทของผู้ตายจะไปติดต่อเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้ตาย เช่น ทายาทของผู้ตายได้ไปติดต่อเจ้าหน้าที่ที่ดิน เพื่อให้เจ้าหน้าที่โอนที่ดินของผู้ตายให้เป็นชื่อของทายาท เจ้าหน้าที่ฯจะไม่ยอมดำเนินการให้ โดยจะอ้างว่าจะต้องมีคำสั่งศาลตั้งให้บุคคลใดเป็นผู้จัดการมรดก และให้ผู้จัดการมรดกมาติดต่อเรื่อง จึงเป็นเรื่องที่ทายาทจะต้องยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกขึ้น

 

      ก่อนอื่นต้องทราบก่อนว่า #ผู้มีสิทธิได้รับมรดก นั้นตามกฎหมายแล้ว มีอยู่ 2 ทางด้วยกัน ได้แก่

      1. ผู้มีสิทธิได้รับมรดกตามพินัยกรรม

     พินัยกรรม เป็นการแสดงเจตนาของเจ้ามรดก เพื่อกำหนดให้ใครได้รับมรดกของคนตายไป เช่น เจ้ามรดกอาจระบุในพินัยกรรมว่า เมื่อข้าพเจ้าได้ถึงแก่ความตายแล้วให้ทรัพย์สินที่เป็นของข้าพเจ้าทั้งหมดตกเป็นของนาย A ซึ่งเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาของข้าฯเพียงผู้เดียว ดังนั้น ทรัพย์สินของเจ้ามรดกดังกล่าวจะตกทอดแก่นาย A เพียงคนเดียวตามพินัยกรรม ทายาทคนอื่นๆจะไม่มีสิทธิได้รับมรดก ทายาท จึงจำเป็นต้องทราบว่าผู้ตายหรือเจ้ามรดก ได้มีการจัดทำพินัยกรรมขึ้นหรือไม่ ถ้ามีการจัดทำพินัยกรรม ก็ให้แบ่งทรัพย์ของผู้ตายตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรม

      แม้จะได้มีการทำพินัยกรรมขึ้น แต่พินัยกรรมไม่ได้ระบุทรัพย์สินของผู้ตายไว้บางชนิด ทรัพย์สินที่ไม่ได้ระบุนั้นจะแบ่งให้ทายาท ผู้มีสิทธิได้รับมรดกแบ่งตามลำดับชั้น ตามมาตรา 1629 เช่น ผู้ตายมีทรัพย์สิน 2 รายการ ได้แก่   1. เงินฝากในบัญชี 100,000 บาท และ  2. ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกตามตัวอย่างนี้มี นาย A เป็นบุตรของเจ้ามรดก  และ นาย B เป็นบิดาของเจ้ามรดก ส่วนทายาทคนอื่นเสียชีวิตหมดแล้ว

      โดยเจ้ามรดกได้จัดทำพินัยกรรมกำหนดว่า ให้เงินฝากในบัญชี 100,000 บาท ตกเป็นของนาย A ซึ่งเป็นบุตรของตน จะเห็นได้ว่าผู้ตายมีทรัพย์สินทั้งหมด 2 รายการ แต่ได้ระบุ ในพินัยกรรมเพียง 1 รายการ ในกรณีนี้เงิน 100,000 บาท ก็ให้แบ่งให้กับนาย A ตามเจตนารมณ์ของผู้ตาย 

 

  #ในส่วนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง นั้น พินัยกรรมไม่ได้กำหนดว่าให้จัดการอย่างไ ดังนั้นต้องแบ่งตามลำดับทายาทที่กำหนด มาตรา 1629 กล่าวคือ ทั้งนาย A ซึ่งเป็นบุตร และ นาย B ที่เป็นบิดา ต่างมีสิทธิได้รับมรดกในส่วนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างตามส่วนที่ของตน แต่เงินฝากในบัญชี 100,000 บาท นั้นนาย A มีสิทธิได้รับมรดกแต่เพียงผู้เดียว

 

             

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม  https://www.tanaysocial.com/article/NjZMQHd5ZVItUyF0ZTIwMjA=

 

       2  ผู้มีสิทธิได้รับมรดกตามกฎหมาย

 เมื่อผู้ตายหรือเจ้ามรดกไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ ทายาทต้องจัดแบ่งทรัพย์มรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629  โดยมาตรา1629 ได้กำหนดลำดับทายาทให้มีสิทธิรับมรดกไว้ 6 ลำดับ  ดังนี้

 

  ทายาทลำดับที่ 1. ผู้สืบสันดาน ได้แก่ บุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย , บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้ว (บิดาได้ให้ใช้นามสกุล , อุปการะเลี้ยงดู , ส่งเสียเลี้ยงดูบุตร) รวมถึงบุตรบุญธรรม

 

   ทายาทลำดับที่  2. บิดามารดา ได้แก่ บิดามารดาของผู้ตาย

 

   ทายาทลำดับที่ 3. พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน กล่าวคือ ต้องเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา สายเลือดเดียวกัน แม้พ่อแม่ของพี่น้องดังกล่าวจะไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน  ก็ถือว่าเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันในกรณีนี้

 

  ทายาทลำดับที่ 4. พี่น้องร่วมแต่บิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน  ต้องเป็นพี่น้องร่วมแต่บิดาหรือร่วมแต่มารสายเลือดเดียวกัน แม้พ่อหรือแม่ของพี่น้องดังกล่าวจะไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน  ก็ถือว่าเป็นพี่น้องร่วมแต่บิดาหรือร่วมแต่มารดาเดียวกัน

 

    ทายาทลำดับที่ 5. ปู่ ย่า ตา ยาย ถือเอาตามความเป็นจริงตามสายเลือด

 

    ทายาทลำดับที่ 6. ลุง ป้า น้า อา ต้องเป็นสายเลือดเดียวกันกับเจ้ามรดก   อาสะใภ้ , น้าสะใภ้ ไม่ถือว่าเป็น อา หรือ น้า ตามความหมายนี้  เพราะไม่เป็นอา น้า ตามสายเลือด   ทำให้ไม่มีสิทธิรับมรดกตามลำดับ 6 นี้

 

 ทายาทลำดับสุดท้ายคือ #คู่สมรส ที่ ที่ถือว่าเป็นทายาทโดยธรรมอันมีสิทธิได้รับมรดกของเจ้ามรดกเช่นกัน ซึ่งคู่สมรสนั้น แม้จะทิ้งร้างหรือแยกกันอยู่นานเพียงใด ตราบใดที่ยังมิได้จดทะเบียนหย่ากันตามกฎหมาย ก็ยังคงมีสิทธิได้รับมรดกของเจ้ามรดก

    

     ถ้าทายาทลำดับ ที่ 1 (บุตรของเจ้ามรดก )   ทายาทลำดับที่ 2 ( พ่อ แม่ ของเจ้ามรดก ) และคู่สมรส ยังมีชีวิตอยู่

    ทายาทในลำดับที่ 4 (พี่น้องร่วมแต่บิดาหรือร่วมมารดาเดียวกันของผู้ตาย) ทายาทลำดับที่ 5 ปู่ ย่า ตา ยาย ของเจ้ามรดก และ ทายาทลำดับที่ 6  ลุง ป้า น้า อา  ของเจ้ามรดก ไม่มีสิทธิรับมรดก

 

    ในกรณีที่ทายาทลำดับที่ 1 คือ (บุตรของเจ้ามรดก )    ยังมีชีวิตอยู่ และมีทายาทลำดับที่ 2 คือ ( พ่อ แม่ ของเจ้ามรดก ) แบบนี้ให้ พ่อ แม่ ของเจ้ามรดก ได้ส่วนแบ่งเสมือนว่าเป็นทายาทชั้นบุตรด้วย 

 

 

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก https://www.tanaysocial.com/article/NTFMQHd5ZVItUyF0ZTIwMjA=

 

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมคลิก https://www.tanaysocial.com/article/NDhMQHd5ZVItUyF0ZTIwMjA=

 

 

       ตัวอย่าง เช่น  ขณะที่นาย A ถึงแก่ความตาย มีบุตร ชื่อ เด็กชาย มูมู่ (ทายาทลำดับที่ 1) และมีนาย B ซึ่งเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน (ทายาทลำดับ 3)  ส่วนภริยา และบิดามารดาของนาย A เสียชีวิตไปก่อนนาย A

 

     ในกรณีนี้หากนาย A เสียชีวิต ผู้มีสิทธิได้รับมรดกตามกฎหมายคือ เด็กชาย มูมู่ ซึ่งเป็นทายาทลำดับที่ 1 เพียงผู้เดียว ส่วน นาย B ไม่มีสิทธิ เนื่องจากเด็กชาย มูมู่ ทายาทลำดับก่อนยังมีชีวิตอยู่ จึงตัดมิให้ทายาทลำดับที่ 3 คือนาย B ได้รับมรดกของนาย A แต่ถ้า  พ่อ แม่ ของนาย A ยังมีชีวิตอยู่  พ่อ แม่ นาย A ก็มีสิทธิได้รับมรดกของนาย A โดยแบ่งเท่าๆกันกับเด็กชายมูมู่

 

     ดังนั้น เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ก็ให้ทายาทที่มีสิทธิรับมรดกไปยื่นคำร้องขอให้ศาลแต่งตั้งให้ทายาทเป็นผู้จัดการมรดก เพื่อนำทรัพย์สินมาแบ่งให้กับทายาทตามกฎหมาย   ผู้จัดการมรดกจะเป็นคนเดียว หรือ หลายคนก็ได้ แล้วจะทายาทตกลงกัน หากมีผู้จัดการมรดกหลายคน แต่หน้าที่ของผู้จัดการมรดก มีหน้าที่รวบรวมทรัพย์สินของเจ้ามรดก แบ่งให้กับทายาทตามกฎหมายเท่านั้น จะไม่มีสิทธินำทรัพย์มรดกมาเป็นของตัวเองทั้งหมด 

 

   #เอกสารในการยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก  ดังนี้

 1.  #เอกสารของเจ้ามรดก (ผู้ตาย)

     1.1.ทะเบียนบ้านประทับตราคำว่า “ตาย”

     1.2.ใบมรณะ หรือ หนังสือรองการตาย

     1.3.ใบสำคัญสมรส / ใบสำคัญทะเบียนการหย่า

     1.4.หนังสือรับรองการเปลี่ยนชื่อ สกุล (ถ้ามี)

     1.5.ข้อมูลทะเบียนครอบครัว ทะเบียนสมรส ทะเบียนรับรองบุตร ทะเบียนรับรองบุตรบุญธรรม ออก ณ ที่ว่าการอำเภอ

     1.6.พินัยกรรมของผู้ตาย (หากมี)

     1.7.หนังสือเดินทาง (คนต่างชาติ)

     1.8.ทะเบียนบ้านเล่มเหลือง บัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย

 

2. #เอกสารของผู้จะขอเป็นผู้จัดการมรดก

     2.1 ทะเบียนบ้าน

     2.2 บัตรประจำตัวประชาชน

     2.3 ใบสำคัญการสมรส (ถ้ามี)

     2.4 ใบสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล (ถ้ามี)

     2.5 ใบสูติบัตร

 3.    #เอกสารของทายาทโดยธรรมของ เจ้ามรดก (บิดามารดา บุตร คู่สมรส หรือบุคคลที่มีสิทธิรับมรดก

   3.1 สำเนาทะเบียนบ้าน

   3.2 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน

   3.3 สำเนาใบสำคัญการสมรส (ถ้ามี)

   3.4 สำนาใบสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล (ถ้ามี)

   3.5 สำเนาใบมรณะบัตรของบิดา และหรือ มารดา ของเจ้ามรดก (กรณีเสียชีวิต) หากไม่มีใบมรณะให้ไปที่ว่าการอำเภอ หรือสำนักงานเขต ออกหนังสือรับรองการการตายให้

   3.6 หนังสือให้ความยินยอมให้เป็นผู้จัดการมรดก (ทนายความจัดทำให้)

   3.7 บัญชีเครือญาติ (ทนายความจัดทำให้)

   3.8 หนังสือเดินทาง ของทายาท (ทายาทเป็นต่างชาติ)

   3.9 หากทายาทอยู่ในต่างประเทศ ให้ลงนามและรับรองความถูกต้องของเอกสาร ผ่าน Notary  Public หรือเจ้าหน้าที่กงสุล  

    ในการจัดการมรดกของชาวต่างชาตินั้น หากเอกสารใดเป็นภาษาต่างประเทศ จะต้องจัดทำคำแปลโดยให้บุคคลที่เชื่อถือได้รับรองการแปลเอกสารดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 46 วรรคสาม

 

  4.   #เอกสารเกี่ยวกับทรัพย์มรดก เช่น บัญชีเงินฝากธนาคาร ใบรับรองกองทุน หุ้น รถยนต์

  5. #ขตอำนาจศาลในการยื่นจัดการมรดก คำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดก ให้ยื่นต่อศาลที่เจ้ามรดกมีภูมิลำเนาอยู่ขณะถึงแก่ความตาย

 

   หมายเหตุ ระยะเวลาในการดำเนินการยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกจนถึงศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดก ในกรณีที่ไม่มีผู้คัดค้านในการยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก ระยะเวลาที่ไม่แน่นอนจะอยู่ประมาณ 1-4 เดือน  แต่หากมีผู้คัดค้านในการยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกก็อาจจะต้องช้าออกไป เมื่อศาลแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดก จะต้องรอขอออก หนังสือรับรองคดีถึงที่สุด อีก 1 เดือน  นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่ง และไม่มีทายาทคนอื่นอุทธรณ์

 

 

 

บทความโดยทนายอาทิตย์ สารบรรณ์ 

 

 

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

บริษัท ทนายโซเชียล จำกัด

อาคารศรีประจักษ์ เลขที่ 2 ห้อง 101 ซอยลาดพร้าว 120

ถนนลาดพร้าว แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง

กรุงเทพมหานคร 10310

โทร 02-194-4707 , 095-169-9998 

 

หรือช่องทาง

1. เว็บบอร์ด  >>> https://www.tanaysocial.com/forum

2. แฟนเพจ >>>  https://www.facebook.com/tanaysocial/

3. ส่งคำถามหน้าเว็บไซร์ >>> https://www.tanaysocial.com/ 

ไปที่หัวข้อ  "ส่งคำปรึกษามาถามเราสิ

4. ไอดี Line คลิก เพิ่มเพื่อน

ยื่นขอเป็นผู้จัดการมรดก คนไทย หรือ ชาวต่างชาติ ทำอย่างไร #ใครมีสิทธิรับมรดกบ้าง

0 ความเห็น

แสดงความเห็น