คิดค่าทนาย เป็นเปอร์เซ็นจากทุนทรัพย์ที่ฟ้องคดี ผิดกฎหมายหรือไม่
29
มิถุนายน
โดย: Tanaysocial 0 ความเห็น

คิดค่าทนาย เป็นเปอร์เซ็นจากทุนทรัพย์ที่ฟ้องคดี ผิดกฎหมายหรือไม่

 

หากมีเรื่องทุกข์ร้อนใจ ทุกปัญหามีทางออก

ปรึกษากฎหมายฟรี

โทร 02-194-4707 , 095-169-9998

ทนายธีรเมศร์/ทนายเบล    

หรือสามารถส่งข้อความที่ต้องการสอบถาม มายังไลน์ (Line) เพียงกดเพิ่มเพื่อน ด้านล่างนี้ได้เลย

เพิ่มเพื่อน

 

 

 

 

ฎีกาที่ 5162/2563

วินิจฉัยว่า สัญญาจ้างว่าความซึ่งมีข้อตกลง คิดค่าว่าจ้างทนายความในอัตราของจำนวนทุนทรัพย์ที่สามารถบังคับคดีได้ ไม่ขัด พรบ ทนายความ และข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ อีกทั้ง ปวิพ มาตรา 222/37 ก็บัญญัติให้คิดเงินรางวัลทนายความฝ่ายโจทก์ในอัตราร้อยละจากเงินที่ได้รับตามคำพิพากษาทำนองเดียวกับข้อตกลงในสัญญาจ้างว่าความคดีนี้ที่ผู้ว่าจ้างตกลงชำระค่าจ้างว่าความในอัตราร้อยละ 30 ของจำนวนทุนทรัพย์ที่สามารถบังคับคดีได้ สัญญาจ้างว่าความนี้ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยตาม ปพพ มาตรา 150 ไม่เป็นโมฆะ

 

ฎีกาที่ 4164/2548

ข้อสัญญาจ้างว่าความที่ตกลงให้ผู้ว่าจ้างชำระค่าจ้างส่วนที่ 2 อีกร้อยละ 10 ของยอดหนี้ทุนทรัพย์ที่ฟ้องและจากทุกจำนวนที่ผู้รับจ้างได้ดำเนินการจนผู้ว่าจ้างได้รับชำระหนี้ เป็นข้อตกลงส่วนหนึ่งของสัญญาในการกำหนดหลักเกณฑ์การคิดคำนวณค่าทนายความในส่วนที่ 2 ตามเจตนาของคู่สัญญา โดยกำหนดหน้าที่ของผู้รับจ้างที่จะต้องดำเนินการให้ผู้ว่าจ้างได้รับชำระหนี้ก่อน จึงจะมีสิทธิได้รับชำระหนี้ในอัตราร้อยละ 10 จากจำนวนเงินที่ผู้ว่าจ้างได้รับ แต่ทั้งนี้ไม่เกินร้อยละ 10 ของทุนทรัพย์ที่ฟ้องแต่ละคดี ข้อตกลงดังกล่าวไม่เป็นการต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ทนายความฯ และประกาศข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความฯ ทั้งไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตาม ป.พ.พ. มาตรา 150

 

 

ฎีกาที่ 10654/2555

โจทก์จำเลยตกลงกันให้จ่ายค่าจ้างว่าความในอัตราร้อยละ 10 ของจำนวนทุนทรัพย์ตามฟ้อง เป็นเพียงการกำหนดกฎเกณฑ์ในการคำนวณค่าจ้างว่าความให้คิดเป็นจำนวนร้อยละเท่าใดของทุนทรัพย์ที่ฟ้องซึ่งเป็นจำนวนแน่นอน หาใช่เป็นสัญญาแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทที่ลูกความจะได้รับเมื่อชนะคดีไม่ สัญญาจ้างว่าความระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงไม่ใช่นิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนอันจะตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150

 

ฎีกาที่ 5229/2544

พระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 และประกาศข้อบังคับสภาทนายความ ว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ. 2529 มิได้บัญญัติห้ามมิให้ทนายความเข้าเป็นทนายความโดยวิธีสัญญาแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้แก่ลูกความดังเช่น พระราชบัญญัติทนายความสองฉบับแรก (ที่ยกเลิก) ฉะนั้น สัญญาจ้างว่าความที่พิพาทที่ระบุว่า "คิดค่าทนายความร้อยละ 20 ของยอดทุนทรัพย์ 17,188,356 บาท โดยชำระค่าทนายความเมื่อบังคับคดีได้ กรณีบังคับคดีได้เพียงบางส่วนก็คิดค่าทนายความบางส่วนที่บังคับคดีได้ และถ้าคดีมีการยอมความกันคิดค่าทนายความร้อยละ 10 ของยอดเงินที่ยอมความ" จึงไม่ขัดต่อกฎหมายและข้อกำหนดดังกล่าวเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ในการคิดคำนวณค่าทนายความระหว่างโจทก์จำเลย หาเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่ สัญญาจ้างว่าความที่พิพาทจึงไม่เป็นโมฆะ

สัญญาจ้างว่าความที่พิพาทไม่มีข้อใดที่มีลักษณะเป็นการเสี่ยงโชค และไม่เป็นข้อตกลงที่มีลักษณะได้เสียกันโดยอาศัยเหตุการณ์ในอนาคตที่ไม่แน่นอน เป็นข้อแพ้ชนะกันระหว่างโจทก์จำเลย แต่เป็นสัญญาจ้างทำของที่โจทก์ต้องลงแรงว่าต่างให้แก่จำเลยซึ่งเป็นลูกความ จึงหาใช่เป็นการพนันขันต่อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 853 ไม่

 

เมื่อโจทก์เป็นทนายความฟ้อง ร. และ ค. แล้วมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอม ต่อมา ร. และ ค. ผิดสัญญา โจทก์ได้รับมอบอำนาจจากจำเลยให้ดำเนินการบังคับคดี ซึ่ง ร. และ ค. ได้นำเงินมาวางชำระที่ศาลแล้ว ดังนี้ โจทก์ในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยได้ดำเนินการบังคับคดีแล้ว ซึ่งต่อมา ร. และ ค. ได้วางเงินชำระหนี้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะถูกจำเลยฟ้องคดีอาญาฐานโกงเจ้าหนี้โดยการว่าจ้างทนายความคนอื่นหรือเพราะการบังคับคดี ยึดทรัพย์ก็ตาม ถือว่ามีการบังคับคดีและจำเลยได้รับชำระหนี้แล้วโจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าจ้างว่าความจากจำเลย

 

 

 

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

บริษัท ทนายโซเชียล จำกัด

อาคารศรีประจักษ์ เลขที่ 2 ห้อง 101 ซอยลาดพร้าว 120

ถนนลาดพร้าว แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง

กรุงเทพมหานคร 10310

โทร 02-194-4707 , 095-169-9998 , 081-749-5456 

 

หรือช่องทาง

1. เว็บบอร์ด  >>> https://www.tanaysocial.com/forum

2. แฟนเพจ >>>  https://www.facebook.com/tanaysocial/

3. ส่งคำถามหน้าเว็บไซร์ >>> https://www.tanaysocial.com/ 

ไปที่หัวข้อ  "ส่งคำปรึกษามาถามเราสิ

คิดค่าทนาย เป็นเปอร์เซ็นจากทุนทรัพย์ที่ฟ้องคดี ผิดกฎหมายหรือไม่

0 ความเห็น

แสดงความเห็น