ผู้แทนโดยชอบธรรม ทำสัญญาประนีประนอม ไม่ได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล
13
มิถุนายน
โดย: Tanaysocial 0 ความเห็น

ผู้แทนโดยชอบธรรม ทำสัญญาประนีประนอม ไม่ได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล

หากมีเรื่องทุกข์ร้อนใจ ทุกปัญหามีทางออก

ปรึกษากฎหมายฟรี

โทร 02-194-4707 , 095-169-9998    

หรือสามารถส่งข้อความที่ต้องการสอบถาม มายังไลน์ (Line) เพียงกดเพิ่มเพื่อน ด้านล่างนี้ได้เลย

เพิ่มเพื่อน

 

รู้หรือไม่ นิติกรรมบางอย่างแม้ผู้แทนโดยชอบจะให้ความยินยอมผู้เยาว์ทำนิติกรรมเอง หรือได้ทำแทนผู้เยาว์ก็ตาม ก็ต้องขออนุญาตจากศาลก่อน

 

เบื้องต้นต้องทำความเข้าใจก่อนว่านิติกรรมที่ผู้เยาว์ได้กระทำลงโดยปราศจากความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรม ถ้าไม่ใช่เหตุตามมาตรา 22-24 นิติกรรมนั้นจะเป็นโมฆียะ ทั้งนี้เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 21

นิติกรรมที่มีผลเป็นโมฆียะ คือ นิติกรรมนั้นมีผลสมบูรณ์จนกว่าจะมีผู้บอกล้าง เมื่อบอกล้างแล้วให้ถือว่าเป็นโมฆะมาตั้งแต่ต้น คู่กรณีต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม หรือมีผู้ให้สัตยาบัน เมื่อมีผู้ให้สัตยาบันแล้วนิติกรรมนั้นก็มีผลสมบูรณ์ไม่สามารถบอกล้างได้อีกเล้ว

 

 

ดังนั้น โดยหลักแล้วผู้เยาว์จะทำนิติกรรมใดๆได้ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน แต่ในการจัดการทรัพย์สินของผู้เยาว์บางประเภทมีความสำคัญเพราะอาจกระทบสิทธิของผู้เยาว์ได้ กฎหมายจึงให้ศาลเป็นผู้ควบคุมอีกชั้นหนึ่ง กล่าวคือ แม้ผู้แทนโดยชอบธรรมจะให้ความยินยอมในการทำนิติกรรมกับผู้เยาว์แล้วก็ตามก็ต้องขออนุญาตจากศาลก่อน ซึ่งจะมีนิติกรรมอะไรบ้างนั้น ขออ้างบทกฎหมายดังนี้

 

 

 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574 บัญญัติว่า นิติกรรมใดอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ดังต่อไปนี้ ผู้ใช้อำนาจปกครองจะกระทำมิได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาต

(1) ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก ให้เช่าซื้อ จำนอง ปลดจำนอง หรือโอนสิทธิจำนอง ซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้
(2) กระทำให้สุดสิ้นลงทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งทรัพยสิทธิของผู้เยาว์อันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์
(3) ก่อตั้งภาระจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ หรือทรัพยสิทธิอื่นใดในอสังหาริมทรัพย์
 (4) จำหน่ายไปทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งสิทธิเรียกร้องที่จะให้ได้มาซึ่งทรัพยสิทธิในอสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้ หรือสิทธิเรียกร้องที่จะให้ทรัพย์สินเช่นว่านั้นของผู้เยาว์ปลอดจากทรัพยสิทธิที่มีอยู่เหนือทรัพย์สินนั้น
(5) ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกินสามปี

(6)ก่อข้อผูกพันใด ๆ ที่มุ่งให้เกิดผลตาม (1) (2) หรือ (3)
(7) ให้กู้ยืมเงิน
(8) ให้โดยเสน่หา เว้นแต่จะเอาเงินได้ของผู้เยาว์ให้แทนผู้เยาว์เพื่อการกุศลสาธารณะ เพื่อการสังคม หรือตามหน้าที่ธรรมจรรยา  ทั้งนี้ พอสมควรแก่ฐานานุรูปของผู้เยาว์
(9) รับการให้โดยเสน่หาที่มีเงื่อนไขหรือค่าภาระติดพัน หรือไม่รับการให้โดยเสน่หา
 (10) ประกันโดยประการใด ๆ อันอาจมีผลให้ผู้เยาว์ต้องถูกบังคับชำระหนี้หรือทำนิติกรรมอื่นที่มีผลให้ผู้เยาว์ต้องรับเป็นผู้รับชำระหนี้ของบุคคลอื่นหรือแทนบุคคลอื่น
(11) นำทรัพย์สินไปแสวงหาผลประโยชน์นอกจากในกรณีที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1598/4 (1) (2) หรือ (3)
 (12) ประนีประนอมยอมความ
 (13) มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย

 

ดังนี้หากทำนิติกรรมอย่างหนึ่งอย่างใดที่เข้ามาตรา 1574 แล้ว ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน และต้องให้ศาลอนุญาตด้วย แต่หากทำนิติกรรมไปโดยได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมแล้วแต่ไม่ได้ขออนุญาตศาลก่อนผลจะเป็นอย่างไรนั้น ขออ้างอิงหนังสือคำอธิบายวิชา นิติกรรม-สัญญา ที่จัดพิมพ์โดยสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา หน้า 77 ดังนี้

 

 

  •           “การจัดการทรัพย์สินของผู้เยาว์โดยฝ่าฝืน มาตรา 1574 นี้มิได้มีผลเป็นโมฆะตามกฎหมาย คงมีผลเพียงให้นิติกรรมนั้นเป็น นิติกรรมนั้นย่อมไม่มีผลผูกพันผู้เยาว์ เท่านั้น ซึ่งหมายถึง นิติกรรมนั้นมิได้มีผลเป็นโมฆะหรือโมฆียะตามกฎหมาย คงมีผลเพียงไม่ผูกพันผู้เยาว์เท่านั้น แต่ในส่วนของผู้แทนโดยชอบธรรมซึ่งเป็นผู้ทำนิติกรรมนั้นยังมีผลผูกพันอยู่โดยผู้แทนโดยชอบธรรมต้องรับผิดตามผลแห่งนิติกรรมที่ทำขึ้นเป็นการส่วนตัว และผู้เยาว์ย่อมไม่มีสิทธิฟ้องเพิกถอนทำลายนิติกรรมนั้นได้ ...” สอดคล้องกับ "คำวินิจฉัยของศาลฎีกาที่ 1726/2493 , 1112/2494 , 2536/2536"    
  •  
  • สรุป นิติกรรมตามมาตรา 1574 ที่ไม่ได้ขออนุญาตจากศาลก่อนนั้น ไม่ผูกพันผู้เยาว์ แต่ผูกพันผู้แทนโดยชอบธรรมที่ได้ทำนิติกรรมแทนผู้เยาว์เป็นการส่วนตัว

 

 

บทความโดยนายอาทิตย์ สารบรรณ์

 

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

บริษัท ทนายโซเชียล จำกัด

อาคารศรีประจักษ์ เลขที่ 2 ห้อง 101 ซอยลาดพร้าว 120

ถนนลาดพร้าว แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง

กรุงเทพมหานคร 10310

โทร 02-194-4707 , 095-169-9998 , 081-749-5456 

 

หรือช่องทาง

1. เว็บบอร์ด  >>> https://www.tanaysocial.com/forum

2. แฟนเพจ >>>  https://www.facebook.com/tanaysocial/

3. ส่งคำถามหน้าเว็บไซร์ >>> https://www.tanaysocial.com/ 

ไปที่หัวข้อ  "ส่งคำปรึกษามาถามเราสิ

ผู้แทนโดยชอบธรรม ทำสัญญาประนีประนอม ไม่ได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล

0 ความเห็น

แสดงความเห็น