ท้าวแชร์อาจถูกฟ้องตาม พรบ.แชร์ และ ข้อหาฉ้อโกง เป็นคดีเดียวกันได้ ตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4139/2547
20
กุมภาพันธ์
โดย: Tanaysocial 0 ความเห็น

ท้าวแชร์อาจถูกฟ้องตาม พรบ.แชร์ และ ข้อหาฉ้อโกง เป็นคดีเดียวกันได้ ตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4139/2547

 

หากมีเรื่องทุกข์ร้อนใจ ทุกปัญหามีทางออก

ปรึกษากฎหมาย

โทร 02-194-4707 , 095-169-9998    

หรือสามารถส่งข้อความที่ต้องการสอบถาม มายังไลน์ (Line) เพียงกดเพิ่มเพื่อน ด้านล่างนี้ได้เลย

เพิ่มเพื่อน

 

เนื่องจากปัจจุบันแชร์ออนไลน์ มีให้เล่นกันแพร่หลายเป็นจำนวนมาก เล่นง่าย จ่ายเร็ว แต่ก็มีคนทั้งที่มาดี และไม่ดี บางครั้งเจอลูกแชร์ดี ท้าวแชร์ดี ก็ดีไป บางครั้งเจอท้าวแชร์ไม่ดี ลูกแชร์แย่ ก็เจ๊งกันไปตามระเบียบ

 

วันนี้เราจะมาพูดถึงท้าวแชร์ ที่บางครั้งไม่มีเงินสำรองจ่ายแทนลูกแชร์ ท้าวแชร์ต้องหาวิธีหมุนเงิน หาแหล่งเงินมาใช้หมุนวงแชร์ บางคนใช้วิธีสร้างมือผี มาร่วมเล่นแชร์ หรือหลอกลวงว่ามีสมาชิกวงแชร์รายอื่นประมูลเงินทุนกองกลางโดยให้ดอกเบี้ยตอบแทนสูงกว่าผู้เสียหายแต่ละคนที่เข้าร่วมประมูล  การกระทำแบบนี้ ถือว่า  ท้าวแชร์หลอกลวง "แอบอ้างสิทธิ" ของสมาชิกวงแชร์คนอื่น ลักษณะนี้ถือว่าท้าวแชร์ มีเจตนาหลอกลวง เข้าข่าย ฉ้อโกง

 

โดยในเวลาเดียวกันหากท้าวแชร์เปิดวงแชร์ เกิน 3 วง หรือมีสมาชิกที่ร่วมเล่นแชร์เกิน 30 คน หรือ เงินกองกลางทุกวงรวมกันเกิน 300,000 บาท เช่นนี้ก็ถือว่าท้าวแชร์ มีความผิดตามพรบ.แชร์อีก 1 กระทง

 

สรุป ก็คือท้าวแชร์ปิดหาฉ้อโกง 1 กระทง เพราะใช้มือผีมาประมูลหรือหลอกลวงผู้แชร์คนอื่นว่ามีคนที่ประมูลแชร์ได้ แต่ความจริงไม่มี  และมีความผิดตามพรบ.แชร์ อีก 1 กระทง  

ต้องเข้าไปนอนในคุกยาวๆ

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4139/2547

โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาเป็นนายวงแชร์จัดให้มีการเล่นแชร์ จำนวนสมาชิกวงแชร์รวมกันทั้ง 5 วง มี 35 คน ซึ่งครบองค์ประกอบความผิดแล้ว เพราะองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 6 (1) (2) ห้ามมิให้บุคคลธรรมดาเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์ที่มีจำนวนวงแชร์รวมกันมากกว่า 3 วง หรือมีจำนวนสมาชิกรวมกันทุกวงมากกว่า 30 คน ส่วนบัญชีรายชื่อผู้เสียหายจำนวน 28 คน นั้น เป็นรายชื่อของสมาชิกวงแชร์ที่ถูกจำเลยฉ้อโกงในการเล่นแชร์ทั้ง 5 วง มิใช่จำนวนสมาชิกวงแชร์ทั้ง 5 วง รวมกัน ฟ้องของโจทก์จึงครบองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 6 (1) (2) แล้ว

โจทก์บรรยายฟ้องถึงการกระทำของจำเลยว่าได้กระทำการเป็นนายวงแชร์จัดให้มีการเล่นแชร์ถึง 5 วง นับแต่วันที่ 25 มีนาคม 2541 ถึงวันที่ 9 พฤษภาคม 2542 โดยมีจำนวนสมาชิกวงแชร์รวมกันทุกวงมากกว่า 30 คน อันเป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.การเล่นแชร์ พ.ศ. 2534 มาตรา 6 (1) (2) แล้ว และต่อมาจำเลยยังได้กระทำความผิดฐานฉ้อโกงผู้เสียหายทั้ง 28 คน ด้วยการหลอกลวงว่ามีสมาชิกวงแชร์รายอื่นประมูลเงินทุนกองกลางโดยให้ดอกเบี้ยตอบแทนสูงกว่าผู้เสียหายแต่ละคนที่เข้าร่วมประมูล จึงต้องรวบรวมเงินทุนกองกลางไปให้แก่สมาชิกผู้นั้น และบางงวดจำเลยก็แอบอ้างชื่อสมาชิกวงแชร์บางรายเข้าประมูลเงินทุนกองกลางโดยเสนอดอกเบี้ยตอบแทนสูงกว่าผู้เสียหายที่เข้าร่วมประมูล จนกระทั่งจำเลยได้เงินทุนกองกลางไปเสียเอง การกระทำของจำเลยในส่วนนี้แยกต่างหากจากการเป็นนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์ซึ่งเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.การเล่นแชร์ เป็นการหลอกลวงแอบอ้างสิทธิของสมาชิกวงแชร์คนอื่น เป็นการกระทำต่างฐานความผิดด้วยเจตนาที่ต่างกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกันมิใช่เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องครบองค์ประกอบความผิดแต่ละฐานแล้ว ฟ้องของโจทก์จึงไม่ขัดแย้งกัน

___________________________

 

โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา ๓๔๑, ๙๑ พ.ร.บ.การเล่นแชร์ พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๖, ๑๗ ให้จำเลยคืนเงิน ๑,๓๐๓,๕๖๐ บาท แก่ผู้เสียหายแต่ละคนตามสำนวนที่ฉ้อโกงไป

จำเลยให้การรับสารภาพ

ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา ๓๔๑ พ.ร.บ.การเล่นแชร์ พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๖, ๑๗ การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตาม ป.อ. มาตรา ๙๑?

จำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค ๒ พิพากษายืน

จำเลยฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง

 

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า... มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลย

ประการแรกว่า โจทก์ต้องบรรยายฟ้องให้ชัดเจนว่า ผู้เล่นแชร์แต่ละวงมีใครบ้าง มีรายชื่ออะไร และเมื่อรวมกันแล้วมีผู้เล่นมากกว่า ๓๐ คน ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.การเล่นแชร์ พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๖, ๑๗ หรือไม่ เห็นว่า โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำนวนสมาชิกวงแชร์รวมกันทั้ง ๕ วง มี ๓๕ คน ซึ่งครบองค์ประกอบความผิดแล้ว เพราะองค์ประกอบความผิดตามมาตรา ๖ (๑) (๒) ห้ามมิให้บุคคลธรรมดาเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์ที่มีจำนวนวงแชร์รวมกันมากกว่า ๓ วง หรือมีจำนวนสมาชิกรวมกันทุกวงมากกว่า ๓๐ คน ส่วนบัญชีรายชื่อผู้เสียหายจำนวน ๒๘ คน นั้น เป็นรายชื่อของสมาชิกวงแชร์ที่ถูกจำเลยฉ้อโกงในการเล่นแชร์ทั้ง ๕ วง มิใช่จำนวนสมาชิกวงแชร์ทั้ง ๕ วง รวมกัน ฟ้องของโจทก์จึงครบองค์ประกอบความผิดตามมาตรา ๖ (๑) (๒) แล้ว

 

มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการต่อไปว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันหรือเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท

เห็นว่า โจทก์บรรยายฟ้องถึงการกระทำของจำเลยว่าได้กระทำการเป็นนายวงแชร์จัดให้มีการเล่นแชร์ถึง ๕ วง นับแต่วันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๔๑ ถึงวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๔๒ โดยมีจำนวนสมาชิกวงแชร์รวมกันทุกวงมากกว่า ๓๐ คน อันเป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.การเล่นแชร์ พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๖ (๑) (๒) แล้ว

 

และต่อมาจำเลยยังได้กระทำความผิดฐานฉ้อโกงผู้เสียหายทั้ง ๒๘ คน

 

"...ด้วยการหลอกลวงว่ามีสมาชิกวงแชร์รายอื่นประมูลเงินทุนกองกลางโดยให้ดอกเบี้ยตอบแทนสูงกว่าผู้เสียหายแต่ละคนที่เข้าร่วมประมูล จึงต้องรวบรวมเงินทุนกองกลางไปให้แก่สมาชิกผู้นั้น และบางงวดจำเลยก็แอบอ้างชื่อสมาชิกวงแชร์บางรายเข้าประมูลเงินทุนกองกลางโดยเสนอดอกเบี้ยตอบแทนสูงกว่าผู้เสียหายที่เข้าร่วมประมูล จนกระทั่งจำเลยได้เงินทุนกองกลางไปเสียเอง การกระทำของจำเลยในส่วนนี้แยกต่างหากจากการเป็นนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์ซึ่งเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.การเล่นแชร์ เป็นการหลอกลวงแอบอ้างสิทธิของสมาชิกวงแชร์คนอื่น เป็นการกระทำต่างฐานความผิดด้วยเจตนาที่ต่างกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกันมิใช่เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องครบองค์ประกอบความผิดแต่ละฐานแล้ว ..." 

 

ฟ้องของโจทก์จึงไม่ขัดแย้งกัน พิพากษายืน

ท้าวแชร์อาจถูกฟ้องตาม พรบ.แชร์ และ ข้อหาฉ้อโกง เป็นคดีเดียวกันได้ ตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4139/2547

0 ความเห็น

แสดงความเห็น