ตำรวจดำเนินคดีผิดคน ออกหมายจับผิดคน ฟ้องเรียกค่าเสียหายได้
หากมีเรื่องทุกข์ร้อนใจ ทุกปัญหามีทางออก
ปรึกษากฎหมาย
โทร 02-194-4707 , 095-169-9998
หรือสามารถส่งข้อความที่ต้องการสอบถาม มายังไลน์ (Line) เพียงกดเพิ่มเพื่อน ด้านล่างนี้ได้เลย
การขอศาลออกหมายจับโดยไม่ได้ค้นข้อมูลทะเบียนราษฎร์ว่ามีบุคคลอื่นที่มีชื่อใกล้เคียงกับโจทก์หรือไม่ ประกอบกับไม่ได้นํารูปในข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของโจทก์ให้ผู้เสียหายและพยานดู เมื่อการขอให้ออกหมายจับย่อมส่งผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของผู้ที่ถูกออกหมายจับ "..พนักงานสอบสวนต้องรวบรวมพยานหลักฐานให้เพียงพอและรอบคอบรัดกุมเชื่อได้ว่าโจทก์กระทําผิดจริง มิให้เกิดความผิดพลาดและต้องแน่ใจว่าโจทก์เป็นบุคคลเดียวกับคนร้าย..." แต่พนักงานสอบสวนกลับไม่กระทำเช่นนั้น และเมื่อพนักงานอัยการฟ้องโจทก์เป็นคดีอาญา เป็นเหตุให้โจทก์ต้องเสียค่าจ้างทนายความและค่าเช่าหลักทรัพย์ในการขอปล่อยชั่วคราวเพื่อปกป้องสิทธิของตน จึงเป็นค่าเสียหายโดยตรงจากการที่พนักงานสอบสวนทําละเมิด
คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 2583/2565
แม้ข้อเท็จจริงจะได้ความว่าอัยการผู้เชี่ยวชาญ สํานักงานอัยการภาค 1 รักษาการในตําแหน่งอัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดปทุมธานี มีหนังสือแจ้ง ผู้กํากับการสถานีตํารวจภูธร ให้พนักงานสอบสวนดําเนินคดีกับบุคคลที่เกี่ยวข้องในคดีอาญา และการฟ้องคดีจะเป็นอํานาจและดุลพินิจของพนักงานอัยการก็ตาม แต่ร้อยตํารวจเอก ณ. เบิกความว่า "...ขอออกหมายจับโจทก์ต่อศาลจังหวัดธัญบุรี โดยใช้คําพิพากษาของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดปทุมธานี ประกอบการขอออกหมายจับ เนื่องจากมีการขอออกหมายจับโจทก์มาแล้วครั้งหนึ่ง แต่ศาลจังหวัดธัญบุรียกคําร้องขอ เนื่องจากเป็นคําซัดทอดของผู้ต้องหาด้วยกัน..."
พนักงานอัยการจึงมีคําสั่งให้นําคําพิพากษาดังกล่าวมาประกอบเพื่อการขอออกหมายจับครั้งนี้ "...การขอออกหมายจับโจทก์ครั้งนี้ เนื่องจากมีชื่อโจทก์ตรงกับคําสั่งของพนักงานอัยการโดยไม่ได้ค้นข้อมูลทะเบียนราษฎร์ว่ามีบุคคลอื่นที่มีชื่อใกล้เคียงกับโจทก์หรือไม่ประกอบกับไม่ได้นํารูปในข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของโจทก์ให้ผู้เสียหายนาย ภ. และนาย ก. ดู ..."
จะเห็นได้ว่า การขอให้ออกหมายจับบุคคลใดย่อมส่งผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของผู้ที่ถูกออกหมายจับ ดังนั้น "...ร้อยตํารวจเอก ณ. พนักงานสอบสวนจึงมีหน้าที่ต้องรวบรวมพยานหลักฐานให้เพียงพอที่จะเชื่อได้ว่าโจทก์กระทําผิดจริง ซึ่งต้องกระทําด้วยความรอบคอบรัดกุม มิให้เกิดความผิดพลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องเป็นที่แน่ใจว่าโจทก์เป็นบุคคลเดียวกับคนร้ายที่ได้มาจากการรวบรวมพยานหลักฐาน แต่ร้อยตํารวจเอก ณ. ไม่ได้ตรวจสอบให้แน่ชัดเสียก่อนว่าโจทก์เป็นบุคคลเดียวกับคนร้ายหรือไม่ อย่างน้อยที่สุดก็ควรได้จัดให้ผู้เสียหาย หรือพยานชี้ภาพถ่ายโจทก์ที่ปรากฏดูว่าใช่คนร้ายหรือไม่ก่อนที่จะขอให้ออกหมายจับ..." ต่อมาพนักงานอัยการจังหวัดธัญบุรีฟ้องโจทก์เป็นคดีอาญา เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายต้องเสียค่าจ้างทนายความและค่าเช่าหลักทรัพย์ในการขอปล่อยชั่วคราวซึ่งเป็นการกระทําเพื่อปกป้องสิทธิอันชอบธรรมของโจทก์จากการถูกดําเนินคดีโดยมิชอบจึงเป็นค่าเสียหายโดยตรงจากการที่ร้อยตํารวจเอก ณ. ทําละเมิด
0 ความเห็น
แสดงความเห็น