บุหรี่ไฟฟ้า ผิดกฎหมายหรือไม่
15
กุมภาพันธ์
โดย: Tanaysocial 0 ความเห็น

บุหรี่ไฟฟ้า ผิดกฎหมายหรือไม่

หากมีเรื่องทุกข์ร้อนใจ ทุกปัญหามีทางออก

ปรึกษากฎหมาย

โทร 02-194-4707 , 095-169-9998    

หรือสามารถส่งข้อความที่ต้องการสอบถาม มายังไลน์ (Line) เพียงกดเพิ่มเพื่อน ด้านล่างนี้ได้เลย

เพิ่มเพื่อน

 

มีลูกเพจสอบถามมาเป็นจำนวนมากเรื่อง การครอบครองบุหรี่ไฟฟ้า (บารากู่ไฟฟ้า) เป็นความผิดหรือไม่

วันนี้ผมขออธิบายเป็นลำดับ ดังนี้ครับ

 

ก่อนอื่นเราต้องทราบก่อนว่า บุหรี่ไฟฟ้า เป็นสินค้าที่ห้ามนำเข้ามาในราชอาณาจักร ตามพระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ.๒๕๒๒ ประกอบ ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้บารากู่และบารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้าที่ต้องห้ามในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ.๒๕๕๗

 

โดยประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้บารากู่และบารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้าที่ต้องห้ามในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ.๒๕๕๗ ข้อ 3 กำหนดไว้ว่า  “…บารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า” หมายความว่า อุปกรณ์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าที่ทําให้เกิดละอองไอน้ํา ในลักษณะคล้ายควันบุหรี่ไม่ว่าจะกระทําขึ้นด้วยวัตถุใด ซึ่งใช้สําหรับสูบในลักษณะเดียวกับการสูบบุหรี่ ตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทย่อย ๘๕๔๓.๗๐.๙๐

 

 เมื่อเราทราบว่าบุหรี่ไฟฟ้า เป็นสินค้าที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรไทยไม่ได้แล้ว ก็ย่อมต้องหมายความว่า สินค้านี้จะต้องไม่มีทางที่จะมีใครครอบครองได้เลยเพราะเมื่อนำเข้ามาไม่ได้ การครอบครองในประเทศไทยก็ย่อมจะมีไม่ได้เช่นกัน หากมีการครอบครองในประเทศไทย ก็ย่อมแสดงว่า มีการลักลอกนำเข้ามาโดยผิดกฎหมาย

 

 แต่เนื่องจาก พระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ.๒๕๒๒ ไม่มีบทกำหนดโทษสำหรับผู้ที่ครอบครอง คงมีเพียงบทกำหนดโทษสำหรับผู้ที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยผิดกฎหมายเท่านั้น

 

แต่เมื่อเราไปดู "พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.๒๕๖๐" มาตรา ๒๔๖ วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติว่า...

ผู้ใดช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาไปเสีย ซื้อ รับจำนำหรือรับไว้โดยประการใด ซึ่งของอันตนพึ่งรู้ว่าเป็นของที่เนื่องด้วยความผิดตามมาตรา ๒๔๒ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๕ ปี หรือปรับเป็นเงิน ๔ เท่า ของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วหรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๒๔๒ บัญญัติว่า ผู้ใดนำเข้ามาในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งของที่ยังมิได้ผ่านพิธีการศุลกากร หรือเคลื่อนย้ายของออกไปจากยานพาหนะ คลังสินค้าทัณฑ์บน โรงพักสินค้า ที่มั่นคง ท่าเรือรับอนุญาต หรือเขตปลอดอากร โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานศุลกากร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับเป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ริบของนั้นไม่ว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่

ผู้ใดพยายามกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน

 

 

ซึ่งเมื่อ่านตัวบทกฎหมายแล้วอาจจะเข้าใจได้ยากทนายขอสรุปง่ายๆว่า

ผู้ใดที่ซื้อบุหรี่ไฟฟ้าจากผู้ที่นำบุหรี่ไฟฟ้าเข้ามาในราชอาณาจักรโดยผิดกฎหมาย ผู้นั้นมีความผิด ตามมาตรา ๒๔๖ วรรคหนึ่ง ของ พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.๒๕๖๐ และแม้ว่าจะไม่ได้ซื้อ แต่ครอบครองไว้เฉยๆ ก็มีความผิดเช่นกัน เพราะการครอบครองไว้เฉยๆ ก็ถือว่าเป็น "การรับไว้โดยประการใด"

 

ดู "คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ ๑๔๑๑/๒๕๖๔" วินิจฉัยว่า

"" ..... จำเลยครอบครองเตาบารากู่ (สินค้าต้องห้ามเช่นเดียวกับบุหรี่ไฟฟ้า) แม้ว่าเตาบารากู่จะเป็นของเพื่อนของจำเลยที่นำมาฝากจำเลยไว้ก็ตาม การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดฐานช่วยซ่อนเร้นช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ หรือรับไว้โดยประการใดซึ่งของอันตนรู้ว่าเป็นของที่เข้ามาในราชอาณาจักรโดยยังมิได้ผ่านศุลกากรโดยถูกต้อง ....""

ดังนั้น เมื่อดูจากกฎหมายและแนวคำพิพากษาของศาลฎีกา การซื้อหรือครอบครองบุหรี่ไฟฟ้า จึงเป็นความผิดตามกฎหมาย

ถ้าจะใช้ก็ต้องระวังเรื่องการถูกดำเนินคดีตามกฎหมายด้วยนะครับ

 

 

 

 

 

 

 

บทความโดยนายอาทิตย์ สารรบรรณ์

 

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

บริษัท ทนายโซเชียล จำกัด

อาคารศรีประจักษ์ เลขที่ 2 ห้อง 101 ซอยลาดพร้าว 120

ถนนลาดพร้าว แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง

กรุงเทพมหานคร 10310

โทร 02-194-4707 , 095-169-9998 , 081-749-5456 

 

หรือช่องทาง

1. เว็บบอร์ด  >>> https://www.tanaysocial.com/forum

2. แฟนเพจ >>>  https://www.facebook.com/tanaysocial/

3. ส่งคำถามหน้าเว็บไซร์ >>> https://www.tanaysocial.com/ 

ไปที่หัวข้อ  "ส่งคำปรึกษามาถามเราสิ"

 

 

 

 

 

 

 

บุหรี่ไฟฟ้า ผิดกฎหมายหรือไม่

0 ความเห็น

แสดงความเห็น