ยืมรถยนต์เพื่อนไป แล้วขับไปเกิดอุบัติเหตุ คนยืมต้องรับผิด หรือจ่ายค่าเสียหายหรือไม่
หากมีเรื่องทุกข์ร้อนใจ ทุกปัญหามีทางออก
ปรึกษากฎหมาย
โทร 02-194-4707 , 095-169-9998
หรือสามารถส่งข้อความที่ต้องการสอบถาม มายังไลน์ (Line) เพียงกดเพิ่มเพื่อน ด้านล่างนี้ได้เลย
คนเมาขับรถชนรถยนต์ที่เรายืมเพื่อนมาเราไม่ต้องรับผิด และไม่มีสิทธิไปเรียกค่าเสียหายจากคนเมาแม้เราจะได้ชำระค่าซ่อมทรัพย์ไปแล้วก็ตาม ต้องให้เจ้าของทรัพย์เป็นคนฟ้องคนเมาเป็นปัญหาที่มีมาช้านานว่าหากรถยนต์ที่เรายืมจากเพื่อนเสียหายเนื่องจากมีบุคคลอื่นขับรถมาชน โดยที่เราไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายนั้น เราต้องรับผิดในความเสียหายนั้นหรือไม่
วันนี้ทนายมีเกร็ดความรู้มาแบ่งปันให้ทราบเนื่องจากเราต้องทราบก่อนว่าการยืมทรัพย์สินนั้น ตามกฎหมายแล้วสามารถแบ่งได้เป็น 2 กรณี ได้แก่
1. ยืมใช้คงรูป
2. ยืมใช้สิ้นเปลือง
ยืมใช้คงรูป
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 640 บัญญัติว่า อันว่ายืมใช้คงรูปนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าผู้ให้ยืม ให้บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้ยืม ใช้สอยทรัพย์สินสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เปล่า และผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินนั้นเมื่อได้ใช้สอยเสร็จแล้ว
ยืมใช้สิ้นเปลือง
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 650 วรรคแรก บัญญัติว่า อันว่ายืมใช้สิ้นเปลืองนั้น คือสัญญาซึ่งผู้ให้ยืมโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินชนิดใช้ไปสิ้นไปนั้นเป็นปริมาณมีกำหนดให้ไปแก่ผู้ยืม และผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินเป็นประเภท ชนิด และปริมาณเช่นเดียวกันให้แทนทรัพย์สินซึ่งให้ยืมนั้น
ซึ่งเมื่อได้อ่านตัวบทกฎหมายแล้วสามารถสรุปได้สั้นๆว่า ทรัพย์สินที่ยืมหากต้องคืนทรัพย์สินชิ้นเดียวกันกับที่ยืมมา เป็นยืมใช้คงรูป เช่น ยืมรถยนต์หากต้องคืนรถยนต์ก็ต้องคืนคันที่เรายืมมาจะนำรถยนต์คันอื่นมาคืนแทนไม่ได้ ส่วนถ้าทรัพย์สินที่ยืมนั้นหากต้องคืนแต่สามารถหาทรัพย์สินที่เป็นชนิด ปริมาณ ประเภท เดียวกันมาคืนได้ ถือว่าเป็นการยืมใช้สิ้นเปลือง เช่น ยืมข้าวสาร 1 กิโลกรัม ยืมเงิน 10,000 บาท เวลาคืนนั้นไม่จำเป็นที่จะต้องนำข้าวสารเม็ดเดียวกันกับที่ยืมมาไปคืนสามารถหาข้าวสารที่มีคุณภาพและปริมาณเดียวกันไปคืนได้ และเงินที่ยืมมานั้นไม่จำเป็นต้องนำแบงค์ใบเดียวกับที่ยืมไปคืน สามารถนำเหรียญหรือแบงค์อื่นซึ่งหากรวมกันแล้วมีมูลค่าเท่ากันกับที่ยืมไปคืนก็ได้
เมื่อเราทราบแล้วว่าการยืมของเรานั้นเป็นการยืมประเภทอะไร สิ่งที่เราต้องรู้ต่อไปคือ การยืมทรัพย์สินประเภทอะไรบ้างที่เราต้องรับผิดชอบเมื่อเกิดความเสียหาย
การยืมใช้คงรูปนั้น เนื่องจากเราจำเป็นต้องคืนทรัพย์สินชิ้นเดียวกันกับที่เรายืมมา ตามกฎหมายแล้วกรรมสิทธิ์ (ความเป็นเจ้าของในทรัพย์สินนั้น) จะไม่โอนไปยังผู้ยืม ดังนั้นเมื่อเกิดความเสียหายที่ไม่ใช่ความผิดของผู้ยืม ผู้ยืมไม่จำเป็นต้องรับผิดในความเสียหายนั้น แต่ผู้ให้ยืม(ผู้ที่มีเจ้าของกรรมสิทธิ์) สามารถเรียกให้บุคคลอื่นที่ก่อให้เกิดความเสียหายรับผิดได้ ในทางกลับกันนั้นหากผู้ยืมได้จ่ายเงินซ่อมแซมทรัพย์ที่เรายืมมาจากเพื่อนไปแล้ว ก็ไม่สามารถเรียกให้บุคคลที่ก่อให้เกิดความเสียหายใช้เงินกับเราได้ เนื่องจากเราไม่มีกรรมสิทธิ์และกฎหมายก็ไม่ได้ให้อำนาจเราในการฟ้องร้องคดี
ส่วนการยืมใช้คงรูปนั้นเมื่อเรายืมทรัพย์สินและผู้ให้ยืมส่งมอบทรัพย์สินให้เราแล้ว ตามกฎหมายถือว่ากรรมสิทธิ์ (ความเป็นเจ้าของในทรัพย์สินนั้น) ได้โอนไปยังผู้ยืมแล้ว ทำให้เมื่อเกิดความเสียหายกับทรัพย์สินที่เรายืม ผู้ยืมจึงมีสิทธิในการฟ้องร้องคดีกับบุคคลที่มาก่อให้เกิดความเสียหายทรัพย์สินที่เรายืมมาได้
ดังนั้น ในการยืมรถยนต์จากเพื่อนจึงถือว่าเป็นการยืมใช้คงรูป กรรมสิทธิ์ในรถยนต์จึงยังคงอยู่ที่เพื่อนที่ให้ยืม เมื่อคนเมาขับรถโดยประมาทเลินเล่อมาชนกับรถยนต์ที่เรายืมมา โดยความเสียหายครั้งนี้นั้นเราไม่มีส่วนผิดอยู่เลย เราไม่จำเป็นที่จะต้องรับผิดชอบ แต่เป็นสิทธิของผู้ให้ยืมในการฟ้องร้องหรือเรียกค่าเสียหายจากคนเมานั้นเองสรุป หากใช้กรณีปกติตามที่ยืมไม่ต้องรับผิด แต่ตามหลักมนุษยธรรมควรอำนวยความสะดวกในการซ่อมบ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่7416/2548
การยืมรถถือเป็นการยืมใช้คงรูปตามกฎหมายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๖๔๓ ได้บัญญัติให้ผู้ยืมต้องรับผิดต่อผู้ให้ยืมในกรณีเฉพาะนำทรัพย์ที่ยืมไปใช้การอย่างอื่น นอกจากการอันเป็นปกติแก่ทรัพย์สินนั้น หรือ นอกจากการอันปรากฎในสัญญา หรือเอาไปให้บุคคลภายนอกใช้สอบ หรือเอาไปไว้นานกว่าที่ควรจะเอาไว้
เมื่อไม่ปรากฎเหตุดังกล่าว และในวันเกิดเหตุจำเลยที่ ๑ เป็นผู้ขับรถที่ยืมไปเยี่ยมราษฎรในพื้นที่อันเป็นปกติของการใช้ทรัพย์ที่ยืมตามปกติที่ได้ขออนุญาตโจทก์ ทั้งเหตุเฉี่ยวชนกันไม่ใช่ความผิดของจำเลยที่ ๑ หากแต่เป็นความผิดของจำเลยที่ ๒ ซึ่งเป็นคนเฉี่ยวชนและเป็นบุคคลภายนอก จำเลยที่ ๑ ในฐานะผู้ยิมจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
0 ความเห็น
แสดงความเห็น