ให้อาหาร
16
ธันวาคม
โดย: Tanaysocial 0 ความเห็น

ให้อาหาร "สุนัขจรจัด" มีความผิดหรือไม่ ตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ1751/2559 วินิจฉัยไว้ว่า

 

หากมีเรื่องทุกข์ร้อนใจ ทุกปัญหามีทางออก

ปรึกษากฎหมาย

โทร 02-194-4707 , 095-169-9998    

หรือสามารถส่งข้อความที่ต้องการสอบถาม มายังไลน์ (Line) เพียงกดเพิ่มเพื่อน ด้านล่างนี้ได้เลย 

เพิ่มเพื่อน

 

จากการสำรวจประชากรสุนัขจรจัดของสำนักงานปศุสัตว์ทั่วประเทศ พบว่า มีสุนัขในเมืองไทยมากกว่า 8.5 ล้านตัว ในจำนวนนี้เป็นสุนัขจรจัดถึง 700,000 ตัวซึ่งมีปัญญาตามมาว่าหากเราให้อาหารสุนัขจรจัดเพราะเรานึกสงสาร หากสุนัขจรจัดที่เราให้อาหารไปก่อความเสียหายหรือไปกัดชาวบ้านผู้ที่ให้อาหารต้องรับผิดเพื่อความเสียหายนั้นหรือไม่

 

ซึ่งเมื่อไปดูกฎหมายตามประมวลกฎหมายเเพ่งเเละพาณิชย์ มาตรา 433 บัญญัติไว้ว่า "ถ้าความเสียหายเกิดขึ้นเพราะสัตว์ ท่านว่าเจ้าของสัตว์หรือบุคคลผู้รับเลี้ยงรับรักษาไว้เเทนเจ้าของจำต้องใช้ค่าทดเเทนให้เเก่ฝ่ายที่ต้องเสียหายเพื่อความเสียหายอย่างใดๆ อันเกิดเเต่สัตว์นั้น เว้นเเต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังอันสมควรเเก่การเลี้ยงการรักษาตามชนิดเเละวิสัยของสัตว์ หรือตามพฤติการณ์อย่างอื่น หรือพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายนั้นย่อมจะต้องเกิดมีขึ้นทั้งที่ได้ใช้ความระมัดระวังถึงเพียงนั้น"

 

ซึ่งเมื่อเราดูกฎหมายดังกล่าวเเล้วอาจจะยากในการทำความเข้าใจ วันนี้ทนายมีคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุดมาเผยเเพร่เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ

 

ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า สุนัขจรจัดที่คนให้อาหารเป็นครั้งคราว เป็นบางครั้งบางโอกาสด้วยความเมตตา รวมถึงคนที่ให้อาหารประจำ แต่ไม่ใช่ผู้รับเลี้ยงรับผิดชอบชีวิตของสุนัขจรจัด ไม่ถือว่าเป็นเจ้าของสุนัขจรจัด (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.764/2556)

 

แต่ถ้าสุนัขไม่มีเจ้าของกัดคนใครต้องรับผิดชอบ ? เมื่อหมาจรจัดไม่มีเจ้าของและจะไปบังคับคนที่เลี้ยงประจำมารับผิดชอบก็ไม่ได้ เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) หรือ กรมปศุสัตว์ ต้องเป็นผู้รับผิดชอบ

 

คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดคดีที่ อ.1751/2559 ได้วินิจฉัยไว้ว่า เป็นหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล หรือกรมปศุสัตว์ ที่จะต้องรับผิดชอบในการจัดการดูแลสุนัขจรจัด ซึ่งสุนัขเป็นสัตว์ควบคุมตามพระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้าพ.ศ. 2535 เมื่อสุนัขจรจัดไปทำลายทรัพย์สิน หรือรุมกัดผู้อื่นก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น องค์การบริหารส่วนตำบล หรือกรมปศุสัตว์จึงต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายนั้น ตามมาตรา 67 และ มาตรา 68 แห่ง พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 ให้ราชการผู้ถูกฟ้องคดีต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้กับเอกชนผู้ฟ้องคดีนั้น

 

แต่การให้อาหารสัตว์ในที่สาธารณะเป็นครั้งคราวด้วยความเมตตาอาจถือว่า เป็นการทิ้งสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยลงบนที่ หรือทางสาธารณะ มีโทษปรับไม่เกินสองพันบาท ตามมาตรา 32 แห่งพ.ร.บ.รักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 และหาก เข้าข่ายเป็นเหตุรำคาญตาม มาตรา 25 แห่งพ.ร.บ.สาธารณสุข พ.ศ. 2535 โทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสองหมื่นห้าพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

 

ดังนั้น จึงสรุปได้ว่าหากให้อาหารสุนัขจรจัดเป็นครั้งคราวหรือประจำ ไม่ถือว่าเป็นเจ้าของของสุนัขนั้นๆ เเละเมื่อไม่ใช่เจ้าของสุนัขเเล้วหากสุนัขไปกัดชาวบ้านโดยไม่ใช่ความผิดของผู้ที่ให้อาหาร ผู้ที่ให้อาหารก็ไม่ต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดจากสุนัขจรจัดนั้น เเต่เป็นหน้าที่ความรับผิดของเทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล หรือ กรมปศุสัตว์

 

ให้อาหาร

0 ความเห็น

แสดงความเห็น