เล่นแชร์ ผิดกฎหมาย หรือจะติดคุกหรือไม่  โดยทนายธีรเมศร์
05
มกราคม
โดย: Tanaysocial 0 ความเห็น

เล่นแชร์ ผิดกฎหมาย หรือจะติดคุกหรือไม่ โดยทนายธีรเมศร์

 

หากมีเรื่องทุกข์ร้อนใจ ทุกปัญหามีทางออก

ปรึกษากฎหมาย

โทร 02-194-4707 , 095-169-9998    

หรือสามารถส่งข้อความที่ต้องการสอบถาม มายังไลน์ (Line) เพียงกดเพิ่มเพื่อน ด้านล่างนี้ได้เลย 

เพิ่มเพื่อน

 

 

เลิกสัญญาเล่นแชร์นายวงแชร์(ท้าวแชร์)ต้องรับผิดในการคืนเงิน

ระหว่างเล่นแชร์กัน ลูกวงแชร์แต่ละคนต้องชำระเงินให้นายวงแชร์เพื่อรวบรวมไปให้ลูกวงแชร์ผู้ประมูลแชร์ได ้ เมื่อมีการเลิกสัญญาเล่นแชร์กันแล้ว ทั้งนายวงแชร์และลูกวงแชร์ซึ่งถือว่าเป็นคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้ กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง กล่าวคือ ลูกวงแชร์ผู้ประมูลแชร์ได้แล้วจะต้องคืนเงินที่ได้รับไปให้แก่ลูกวงแชร์คนอื่น ๆ ที่ยังไม่ได้ประมูล โดยนายวงแชร์ยังมีหน้าที่รับผิดชอบในการคืนเงินดังกล่าวจนกว่าลูกวงแชร์ที่ยังไม่ได้ ประมูลจะได้รับเงินคืนครบตามจำนวนที่มีสิทธิได้

 

#คำพิพากษาศาลฎีกาที่5265/2549

โจทก์ทั้งเจ็ดฟ้องขอให้บังคับจำเลยคืนเงินค่าแชร์จำนวน 180,984 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 180,984 บาท นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าชำระเสร็จแก่โจทก์ทั้งเจ็ด

จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ที่ 1 จำนวน 27,698 บาท โจทก์ที่ 2 จำนวน 9,306 บาท โจทก์ที่ 3 จำนวน 9,598 บาท โจทก์ที่ 4 จำนวน 13,098 บาท โจทก์ที่ 5 จำนวน 13, 098 บาท โจทก์ที่ 6 จำนวน 12,098 บาท และโจทก์ที่ 7 จำนวน 40,014 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของจำนวนเงินที่จำเลยจะต้องชำระแก่โจทก์แต่ละคนนับแต่วันฟ้อง (วันที่ 1 มิถุนายน 2544) เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ทั้งเจ็ด กับให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ทั้งเจ็ดโดยกำหนดค่าทนายความ 1,500 บาท เฉพาะค่าขึ้นศาลให้ใช้แทนเท่าที่โจทก์ชนะคดี คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก

จำเลยอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตามปร ะมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ปัญหาตามอุทธรณ์ของจำเลยมีว่า จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งเจ็ดหรือไม่ เห็นว่า ระหว่างเล่นแชร์กัน ลูกวงแชร์แต่ละคนต้องชำระเงินให้นายวงแชร์เพื่อรวบรวมไปให้ลูกวงแชร์ผู้ประมูลแชร์ได ้ เมื่อมีการเลิกสัญญาเล่นแชร์กันแล้ว ทั้งนายวงแชร์และลูกวงแชร์ซึ่งถือว่าเป็นคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้ กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคหนึ่ง กล่าวคือ ลูกวงแชร์ผู้ประมูลแชร์ได้แล้วจะต้องคืนเงินที่ได้รับไปให้แก่ลูกวงแชร์คนอื่น ๆ ที่ยังไม่ได้ประมูล โดยนายวงแชร์ยังมีหน้าที่รับผิดชอบในการคืนเงินดังกล่าวจนกว่าลูกวงแชร์ที่ยังไม่ได้ ประมูลจะได้รับเงินคืนครบตามจำนวนที่มีสิทธิได้ ดังนั้น เมื่อโจทก์ทั้งเจ็ดได้รับเงินคืนไม่ครบ จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งเจ็ดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น มิใช่หลุดพ้นจากความรับผิดไปตามที่อ้างมาในอุทธรณ์ อุทธรณ์ของจำเลยฟังไม่ขึ้น แต่คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่เกี่ยวกับโจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 7 ดังกล่าว มีข้อผิดพลาดเล็กน้อยในการคำนวณ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง

พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ที่ 1 จำนวน 28,796 บาท แก่โจทก์ที่ 7 จำนวน 42,210 บาท นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นนี้ให้เป็นพับ.

 

#เล่นแชร์ถือว่าผิดกฎหมายหรือเปล่า?

เชื่อหรือไม่ว่ายังมีอีกหลายคนที่ไม่ทราบว่า “เล่นแชร์” ไม่ผิดกฎหมาย แต่การเล่นแชร์แบบฮาร์ดเซลล์ มีโฆษณาจูงใจคนมาเล่นกันเยอะผิดจากข้อกำหนดนี้ถือว่าผิดกฎหมายด้วย เพราะมี พ.ร.บ. การเล่นแชร์ พ.ศ. 2534 คุ้มครองคนเล่นแชร์โดยเฉพาะ เนื่องจากการรับฝากถอนเงินในรูปแบบนี้เป็นที่นิยมมาก แต่ไม่มีการคุ้มครองจากธนาคารแห่งประเทศไทย ดังนั้นหากคุณถูกโกงแชร์ หรือมีส่วนไปเอี่ยวกับแชร์ที่ผิดกฎหมายด้วยเงื่อนไขต่อไปนี้ ก็สามารถแจ้งความดำเนินคดีกับท้าวแชร์ได้เลย

 

#เล่นแชร์แบบไหนผิดกฎหมาย?

  1. นายแชร์ (หรือท้าวแชร์) มีวงแชร์ในตัวเองเกิน 3 วง
  2. มีจำนวนสมาชิกวงแชร์เกิน 30 คน
  3. มีทุนกองกลางต่อ 1 งวดรวมกันทุกวงไม่เกินจำนวนที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง (ไม่เกิน 300,000 บาท)
  4. ห้ามไม่ให้นายแชร์ หรือผู้ที่มีการจัดให้เล่นแชร์นั้นได้รับผลประโยชน์อย่างอื่น
  5. ยังถือว่าผู้ที่สัญญาว่าจะใช้เงินหรือทรัพย์สินอื่นใดแทนนายวงแชร์ เป็นนายวงแชร์ด้วย (ท้าวแชร์)

ในข้างต้นนี้เรียกว่า “มาตรา 6” หากฝ่าฝืนจะต้องถูกจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

สิ่งที่วงแชร์จะมีไม่ได้ ก็คือ

1.กลุ่มนิติบุคคลที่สัญญาว่าจะใช้เงินหรือทรัพย์สินแทนท้าวแชร์

2.ห้ามมีประกาศโฆษณาชักชวนให้ประชาชนทั่วไปมาเล่นแชร์

3.ห้ามใช้คำว่า “แชร์” ในชื่อธุรกิจ

หากพบว่ามีนิติบุคคลใดดำเนินการธุรกิจเป็นการเล่นแชร์ ซึ่งปัจจุบันมีการยกเลิกนิติบุคคลเป็นท้าวแชร์แล้ว เจ้าหน้าาที่มีสิทธิ์เข้าไปตรวจสอบ โดยเจ้าหน้าที่จะต้องแสดงบัตรประจำตัวก่อนเข้าตรวจสอบ และมีอำนาจตรวจสอบได้ ดังนี้

1.เจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบได้หากมีเหตุสงสัยว่านิติบุคคลกระทำความผิด แต่ต้องเข้าไปตรวจสอบในช่วงตะวันยังไม่ตกดินเท่านั้น

2 .ยึดเอกสาร หรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องอันเป็นเหตุอันควรเพื่อไปตรวจสอบได้

3.เจ้าหน้าที่ออกหนังสือเรียกบุคคล หรือขอให้ส่งเอกสารหรือหลักฐานจำเป็นมาประกอบการพิจารณาได้

 

#โทษของการฝ่าฝืน พ.ร.บ. เล่นแชร์ ก็คือ

  1. ถ้านิติบุคคลก่อตั้งเป็นธุรกิจการเล่นแชร์ จะต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 1 ใน 3 เท่าของทุนกองกลางแต่ละงวดของทุกวงแชร์ แต่ต้องไม่ต่ำกว่า 200,000 บาท และศาลจะสั่งให้นิติบุคคลยกเลิกการเป็นนายวงแชร์ทันที
  2. นิติบุคคลอื่นที่สัญญาว่าจะใช้เงินหรือทรัพย์สินแทนท้าวแชร์ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 200,000 บาท
  3. โฆษณาชวนประชาชนมาเล่นแชร์ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท
  4. ใช้ชื่อคำว่า “แชร์” ในโฆษณาธุรกิจ ปรับไม่เกิน 20,000 บาท และปรับอีกไม่เกินวันละ 500 บาท ตราบที่ยังฝ่าฝืนอยู่
  5. ขัดขวางพนักงานไม่ให้ปฏิบัติหน้าที่ หรือไม่ตอบข้อซักถาม ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน ปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  6. บุคคลที่เกี่ยวข้องไม่อำนวยความสะดวกให้แก่เจ้าหน้าที่ ปรับไม่เกิน 2,000 บาท
  7. นิติบุคคลที่เป็นนายวงแชร์ หรือจัดให้มีการเล่นแชร์ หรือสัญญาว่าจะใช้ทรัพย์สินแทนนายแชร์ ระวางจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 300,000 บาท หรือทั้งจำและปรับ
  8. โทษปรับอื่น ๆ ศึกษาได้ที่ พ.ร.บ. การเล่นแชร์

 

#อายุความฟ้องคดีแชร์ กรณีท้าวแชร์ฟ้องลูกวงมีอายุความกี่ปี

1.กรณีผิดสัญญาแชร์ทางแพ่ง

         หนี้ค่าแชร์นั้นมีลักษณะเป็นหนี้ที่ต้องส่งใช้เงินทุนคืนเป็นงวด ๆ ตามประมวลกฎหมายแพ่งฯมาตรา 193/33 (2) จึงมีกำหนดอายุความห้าปี นับแต่ลูกหนี้ผิดนัด

        คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 182/2516 หนี้เงินค่าเล่นแชร์ซึ่งลูกวงจะต้องจ่ายให้แก่นายวง อันมีกำหนดระยะเวลาการใช้เงินคืนเป็นรายเดือนนั้น มีอายุความฟ้องร้อง 5 ปี (วินิจฉัยตามแนวฎีกาที่ 655/2480)

      มาตรา 193/33  สิทธิเรียกร้องดังต่อไปนี้ให้มีกำหนดอายุความห้าปี (1) ดอกเบี้ยค้างชำระ (2) เงินที่ต้องชำระเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ

 

2.แต่หากคดีมีลักษณะเป็นการการฉ้อโกง

ฉ้อโกงธรรมดา จะมีอายุความ ๓ เดือน นับแต่รู้ หรือฉ้อโกงประชาชน ตามกฎหมายอาญามีอายุความ ๑๐ ปี แล้วแต่ข้อหาหรือฐานความผิดและข้อเท็จจริงแต่ละคดี  

 

 

#เมื่อถูกโกงแชร์ออนไลน์ต้องทำอย่างไร??

  1. รวบรวมเอกสารต่าง ๆ เท่าที่จะหาได้ ทั้ง Slip เงินที่โอนไป, Capture หน้าจอที่ส่งสลิปให้ทางท้าวแชร์ ไม่ว่าจะผ่านไลน์ หรือ เฟซบุ๊ก
  2. Capture หน้าเพจ Facebook, LINE, IG และคำเชิญชวนของท้าวแชร์ที่ส่งต่อในทางออนไลน์
  3. หาข้อมูลของท้าวแชร์ ให้ได้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็น ชื่อสกุล หรือ เลขบัญชีธนาคาร, ที่อยู่, เบอร์โทรศัพท์
  4. แยกยอดเงินระหว่างเงินส่งแชร์ และเงินที่ได้ดอก ให้ชัดเจน
  5. แจ้งความที่ สถานีตำรวจท้องที่ ที่เกิดเหตุ ต่อ พนักงานสอบสวน
  6. โทรแจ้งกองตำรวจปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ 02-234-1068
  7. ปรึกษาทนายความ นักกฎหมาย เพื่อดำเนินคดี

 

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

บริษัท ทนายโซเชียล จำกัด

อาคารศรีประจักษ์ เลขที่ 2 ห้อง 101 ซอยลาดพร้าว 120

ถนนลาดพร้าว แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง

กรุงเทพมหานคร 10310

โทร.095-169-9998 , 02-194-4707 

 

เล่นแชร์ ผิดกฎหมาย หรือจะติดคุกหรือไม่  โดยทนายธีรเมศร์

0 ความเห็น

แสดงความเห็น